วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

10 เหตุผลที่พีซียังคงอยู่


วานนี้ Neil McAllister ได้ลงบทความที่น่าสนใจชื่อว่า '10 เหตุผลที่พีซีจะยังคงอยู่ต่อไป' (10 Reasons Why the PC Is Here to Stay) บนเว็บไซต์ Infoworld ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจดีเลยจะขอสรุปมาให้ได้อ่านกันในบทความนี้นะครับ

โดย McAllister ได้เริ่มต้นบทความของเขาด้วยการอ้างอิงถึงคำพุดที่ Steve Jobs เคยกล่าวไว้ตอนงาน D8 Conference ที่จัดโดย the Wall Street Journal เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทีซึ่ง Jobs ได้เปรียบเปรยว่าในปัจจุบันพีซีนั้นเหมือนกับรถบรรทุก ซึ่งเราไม่ต้องการมันมากเหมือนกับเมื่อก่อนแล้ว แต่สิ่งที่จะมาแทนที่มันนั้นคืออุปกรณ์เช่น iPad ซึ่งใช้งานง่ายกว่า และสะดวกสบายกว่าด้วยระบบสัมผัส อีกทั้ง Jobs ยังอ้างด้วยว่าเรากำลังเข้าสู่ 'ยุคหลังพีซี' (post-PC era)

อย่างไรก็ตาม McAllister ได้โต้แย้งถึงคำกล่าวอ้างของ Steve Jobs ด้วยเหตุผล 10 ข้อดังต่อไปนี้

1.แท็บ เล็ตไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด

McAllister แย้งว่า ถึงแม้ Apple จะอ้างว่า iPad ของตนนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จะมาปฏิวัติวงการก็ตาม แต่เอาเข้าจริงแล้วแท็บเล็ตเช่น iPad นั้นไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใดเลย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อปี 1993 นั้น Apple ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Newton ซึ่งเป็นอุปกรณ์ PDA ตัวแรกของทางบริษัท แต่ทว่าเมื่อ Jobs หวนคืนสู่ Apple อีกครั้งในปี 1998 เขาก็ได้ยกเลิกโครงการดังกล่าวเสีย เนื่องจากมองว่าขายไม่ได้ อีกทั้งยังกล่าวว่า Apple จะไม่ยอมทำอุปกรณ์พกพาใดๆ อีก... จนกระทั่ง iPhone ออกมา

นอกจากนั้นเขายังได้ยกตัวอย่างกรณีของ Microsoft ที่ในช่วงยุค 90s นั้นก็ได้วางตลาดแท็บเล็ตของตนด้วยเหมือนกัน ซึ่งประสบความล้มเหลวในตลาดผู้บริโภคทั่วไปมาก อันเนื่องมาจากขนาดทีใหญ่ ราคาที่แพงเกินไป และทำอะไรไม่ค่อยได้ และถึงแม้ iPad และบรรดากองทัพโคลนที่เริ่มทยอยเปิดตัวไปแล้วนั้นอาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้บ้าง แต่เขาก็แย้งว่าความต้องการแท็บเล็ตในตลาดผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นยังเป็น ที่กังขาอยู่

นอกจากนั้นเขายังได้อ้างอิงถึงความคิดเห็นของ Sarah Rotman Epps นักวิเคราะห์จาก Forrester ที่กล่าวว่า iPad นั้นไม่ใช่อุปกรณ์ในยุคหลังพีซีเลย แต่ทว่ามันเป็นพีซีประเภทใหม่ ซึ่งจะนำพาเราเข้าสู่ยุคของ Curated Computing ที่ซึ่งทางเลือกในการใช้งานของเราจะถุูกจำกัด แต่ผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ซับซ้อนน้อยลง

อาจจะฟังดูดี แต่ McAllister ได้แย้งว่าถ้าผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตัวใหม่สักตัว มันคงจะดีถ้าพวกเขาสามารถพกพาใส่กระเป๋าเสื้อและใช้คุยโทรศัพท์ได้

2. ปริมาณความต้องการพีซีนั้นเพิ่มขึ้น และไม่ได้น้อยลงแต่อย่างใด

ในข้อนี้ McAllister ได้แย้งคำกล่าวอ้างของ Jobs ที่ว่าผู้คนจะใช้พีซีน้อยลงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเขาเองเห็นว่าไม่เป็นความจริงเลย ซึงถึงแม้สภาพเศรษฐกิจทีไม่ค่อยจะสู่ดีนักอาจทำให้ยอดขายของพีซีลดลงบ้างใน ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา แต่ตัวเลขยอดขายพีซีในปี 2010 นั้นกลับเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Gartner ได้คาดว่ายอดขายของพีซีทั่วโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 22% และเป็นที่น่าสนใจทีว่ายอดขายของเดสก์ท้อป (ที่ซึ่งหลายฝ่ายปรามาสว่าใกล้จะมาถึงจุดจบแล้ว) กลับเพิ่มขึ้นมากกว่าเครื่องแบบแล็บท้อปซะอีก โดยเขาได้อ้างอิงคำพูดของ Stephen Baker รองประธานฝ่ายวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่ NPD Group ทีกล่าวว่า 'ผู้บริโภคตามบ้านตอนนี้ต่างต้องการเครื่องเดสก์ท้อปที่มีประสิทธิภาพและทรง พลังมากขึ้น ซึ่งเป็นข่าวดีของผู้ผลิต OEM เช่น Dell และ HP'

3. คำกล่าวอ้างถึงสรรพคุณต่างๆ อาจไม่เป็นความจริงเสมอไป

ในส่วนนี้ McAllister ได้ยกกรณีตัวอย่าง Segway ซึ่งเป็นสกูตเตอร์ไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบโดย Dean Kamen ซึ่งตอนที่เปิดตัวนั้นได้มีหลายฝ่ายอ้างว่ามันอาจมาเปลี่ยนอุตสาหรรมการขน ส่งชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริง เนื่องมาจากรูปลักษณ์การออกแบบที่แปลกประหลาด และมีราคาแพงเกินไป จึงทำให้ไมได้รับความนิยม ซึ่งเขาก็ได้นำคำกล่าวอ้างเกินเลยที่มีต่อ Segway นั้นมาเปรียบเทียบกับกรณีของ iPad ที่ก็มีหลายฝ่ายอ้างว่ามันจะมาช่วยอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์บ้าง, ปฏิวัติวงการสื่อบ้าง ฯลฯ ซึ่งเขาได้กล่าวว่ายังอีกนานกว่าที่ iPad จะกลายมาเป็นเครื่องใช้ประจำบ้าน อันเนื่องมาจากอุปกรณ์อื่นเช่นโทรทัศน์, เครื่องเล่น Blu-ray, มือถือ, เครื่องเล่น MP3 และพีซีนั้นมีอิทธิพลต่อผู้ใช้งานทั่วไปมากกว่า

4. พีซีมีประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่ากว่า

ในข้อนี้เขาได้ยกกรณีของเน็ตบุ๊กที่กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากก็เนื่องมา จากราคาที่ถูกมากของมันนั่นเอง ไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่ว่ามันเป็นอุปกรณ์ประเภทใหม่แต่อย่างใดเลย และนับแต่นั้นเป็นต้นมามันก็ช่วยกดดันให้ผู้ผลิตต่างๆ ลดราคาโน้ตบุ๊กลงมาจนกระทั่งในปัจจุบันที่เราสามารถซื้อโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพ สูงได้ในราคาเพียง $380 (ราว 13,000 บาท) เท่านั้น ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ iPad ตัวที่ถูกที่สุดซึ่งมีราคา $499 (ราว 16,000 บาท) แล้วอาจเห็นว่า iPad นั้นค่อยข้างแพงมาก นอกจากนั้นก็ต้องไม่ลืมว่า iPad ไม่ได้ใช้ Windows หรือ Mac OS X รวมทั้งไม่รองรับ Flash ซึ่งหมายความว่าแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบมาเพื่อแพลตฟอร์มดังกล่าวนั้นจะไม่ สามารถใช้บน iPad ได้ สุดท้ายเขาได้ย้ำว่า iPad จะกลายมาเป็นอุปกรณ์ยุคหลังพีซีได้ก็ต่อเมื่อมันกลายมาเป็นพีซีซะเอง

5.อุปกรณ์ พกพาไม่ได้เก่งไปซะทุกเรื่อง

ในข้อนี้เขาอ้างว่า iPad นั้นรองรับการท่องเว็บไซต์ ตลอดจนแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันได้แย่มาก จนกว่าผู้พัฒนาจะทำการออกแบบใหม่ให้สามารถแสดงผลบน iPad ได้เป็นการเฉพาะ และยังได้ยกตัวอย่างกรณีจดหมายเปิด 'Thought on Flash' ของ Jobs ที่อ้างว่า Flash นั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัย แต่อันที่จริงแล้ว Jobs คิดเช่นนั้นก็เนื่องจากระบบสัมผัสของ iPad นั้นไม่สามารถทำงานเข้ากันได้กับระบบ 'rollover' ของ Flash นั่นเอง

นอกจากนั้นเขายังแย้งถึงความคิดยุคหลังพีซีของ Jobs ที่ว่าผู้คนจะคุ้นเคยกับคีย์บอร์ดออนสกรีนมากกว่าปุ่มกดแบบเดิมด้วย โดยกล่าวว่าคนที่ต้องพิมพ์งานบ่อยๆ นั้นคงยากที่หันมาใช้คีย์บอร์ดแบบออนสกรีน นอกจากนั้นต้องไม่ลืมว่าผู้คนยังคงใช้อุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากคีย์บอร์ดในการติดต่อกับพีซี เช่นอุปกรณ์ควบคุมเกม เป็นต้น

6. อุปกรณ์พกพายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานระดับองค์กรได้

โดย McAllister ได้แย้งว่าถึงแม้สมาร์ทโฟนในปัจจุบันจะมีความสามารถพอเพียงในการใชงานมัลติ มีเดียต่างๆ ได้ดี แต่ทางด้านการทำงานระดับองค์กร โดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัยนั้น ยังถือว่าด้อยประสิทธิภาพอยู่ โดยเขาอ้างว่ายังมีคุณสมบัติในระดับองค์กรอีกมากที่จะต้องนำไปใส่ในอุปกรณ์ พกพา เป็นต้นว่าการอ่านลายนิ้วมือ, การเข้า/ถอดรหัสข้อมูลเพื่อการรักษาความปลอดภัยเป็นต้น ถึงจะเพียงพอต่อการใช้งานต่อลุกค้าในกลุ่มองค์กรได้ แต่เขาก็ยอมรับว่า Blackberry นั้นอาจเป็นอุปกรณ์ที่เข้าข่ายการใช้งานในระดับองค์กรได้อันเนื่องมาจาก คุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่น แต่ในปัจจุบันก็ยังมีอุปกรณ์พกพาน้อยมากที่มีคุณสมบัติด้านการรักษาความ ปลอดภัยเทียบเท่า Windows ของพีซี นอกจากนั้นระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพามักจะไม่ค่อยได้รับการอัพเด ตประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอด้วย และนั่นอาจเป็นเหตุผลให้ในตอนนี้บราวเซอร์บนมือถือนั้นกำลังตกเป็นเป้าของ อาชญากรรมบนโลกไซเบอร์อยู่

นอกจากนั้น ถึงแม้ Apple จะอ้างว่าได้เพิ่มคุณสมบัติการใช้งานระดับองค์กรเข้ามามากขึ้นบน iOS4 แต่ McAllister ก็แย้งว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น และสุดท้ายเขาได้อ้างถึง NPD Group ที่่ว่าลูกค้ากลุ่มองค์กรทั้งเล็กและใหญ่นั้นต่างมีความต้องการเครื่อง คอมพิวเตอร์มากขึ้นในปีนี้

7. บริการบนคลาวด์ยังไม่มีความแน่นอนเพียงพอ

เนื่องจากอุปกรณ์พกพาเช่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นต่างมีประสิทธิภาพในการ ประมวลผลที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งหมายความว่าตัวเครื่องต้องพึงการประมวลผลบนคลาวด์เป็นหลัก แต่ McAllister ก็ได้แย้งว่าบริการดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอ อีกทั้งยังมีข้อติติงอยู่อีกมาก โดยเขาได้ยกตัวอย่างปัญหามากมายที่ผู้ให้บริการดังกล่าวต้องประสบ ไม่ว่าจะเป็นกับ Google เองที่เคยประสบปัญหาผู้ใช้บริการคลาวด์มากเกินที่ระบบจะรับไหว หรือกับเน็ตเวิร์คของ RIM ซึ่งเมื่อปี 2008 นั้นได้เกิดปัญหาระบบล่มทั่วอเมริกาเหนือ เป็นต้น

8. ระบบคลาวด์ไม่ได้ทำงานครอบจักรวาล

ในข้อนี้ McAllister ได้แย้งว่ายังมีการทำงานอื่นอีกมากที่ระบบคลาวด์ยังไม่สามารถตอบสนองได้มี เพียงพอ เช่นการเล่นเกมสามมิติหนักๆ หรือการใช้งานโปรแกรมประเภทตัดต่อภาพยนตร์ หรือทำงานกราฟิกเป็นต้น โดยเขาได้ยกตัวอย่างการแข่งขันการพัฒนาซีพียูเดสก์ท้อประหว่าง Intel และ AMD ในปัจจุบันว่ายังไม่ลดลงเลย อีกทั้งต้องไม่ลืมว่าเกมเมอร์นั้นเป็นตัวอย่างของผู้บริโภคที่ยอมจ่ายเงิน เป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเล่นเกมที่สุดยอดที่สุด ซึงก็มีแต่พีซีเท่านั้นที่จะตอบสนองความต้องการได้

9. ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาและเดสก์ท้อปนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

ในกรณีนี้เขากล่าวว่าการออกแบบอุปกรณ์พกพาในยุคหลังพีซีนั้นก็ยากพอแล้ว เนื่องจากมันต้องสามารถใช้งานแทนพีซีได้ แต่การออกแบบระบบปฏิบัติการให้กับอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นกลับยากยิ่งกว่า เพราะผู้พัฒนาต้องไม่เเพียงแค่ย่อส่วนระบบปฏิบัติการของพีซีลงมาเท่านั้น แต่อาจถึงขั้นต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่จากศูนย์เลยทีเดียว

นอกจากนั้นมันยังยากที่จะตัดสินใจว่าจะตัดหรือเพิ่มคุณสมบัติตรงจุดไหนในการ พัฒนาระบบปฏิบัติการแบบพกพา โดยเขาได้ยกตัวอย่างกรณีของ Microsoft ที่ในตอนนี้กำลังพัฒนาระบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาไม่ต่ำกว่า 5 เวอร์ชั่นด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลายกลุ่ม ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการออกแบบระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาแบบ ครอบจักรวาลนั้นมันยากขนาดไหน ซึ่งคงต้องดูต่อไปว่า iOS จะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนในตลาดนี้

10. ผู้ใช้งานทั่วไปต่างคุ้นเคยกับพีซีมากกว่า

ข้อสุดท้ายนี้เขาได้กล่าวสรุปว่าพีซีในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบ สนองการใช้งานในชีวิตประจำวันของของผู้คนทั่วไปอยู่แล้ว และมันก็สามารถทำหน้าที่ตรงจุดนี้ได้เยี่ยมยอดเสียด้วย นอกจากนั้นผู้คนในยุคนี้ต่างเติบโตขึ้นมาจากการใช้พีซีแทบทั้งนั้น และก็มีแนวโน้มสูงมากว่าจะยังคงอยู่ไปแบบนั้น และกว่าที่อุปกรณ์ยุคหลังพีซีต่างๆ จะมาแทนที่การพีซีในปัจจุบันได้นั้นคงจะอีกนาน จนกว่ามันจะสามารถทำทุกอย่างที่พีซีในปัจจุบันสามารถทำได้

นอกจากนั้นเขายังได้ให้ความเห็นว่าเรากำลังเข้าสู่ในยุคของ 'พีซีบวก' (PC plus) มากกว่า ที่ซึ่งพีซีนั้นจะยังคงเป็นอุปกรณ์หลักสำหรับการใช้งาน แต่เราสามารถเพิ่มความสะดวกในชีวิตประจำวันของเราได้ด้วยการใช้อุปกรณ์พกพา เช่นสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ฯลฯ เพิ่มเติม

สุดท้ายเขาได้กล่าวจบบทความอย่างน่าขันว่า จะอย่างไรก็แล้วแต่ 'ในตอนนี้เราก็ยังเห็นรถบรรทุกวิ่งเต็มถนนอยู่นี่'

ที่มา: Infoworld

เรื่อง: falcon_mach_v

ขอ ขอบคุณเครดิต http://beta.i3.in.th/content/view/3196